Home เรื่องเล่าตอนเข้าค่าย เกร็ดชีวประวัติหลวงพ่อพุธ ฐานิโย (1) 'มรณสติ' ...เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
เกร็ดชีวประวัติหลวงพ่อพุธ ฐานิโย (1) 'มรณสติ' ...เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
Tuesday, 10 January 2012 08:05


รวมรูปภาพ สไลด์โชว์ ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย


 

 

                     "หลวงพ่อพุธ  ฐานิโย"    หรือ  "พระราชสังวรญาณ"  เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่เสาร์   กันตสีโล  ซึ่งถือว่าเป็นพระอาจารย์และสหายทางธรรม ของหลวงปู่มั่น   ภูริทัตโต   อีกทั้งยังเคยได้ปฏิบัติธรรมร่วมกับเหล่าครูบาอาจารย์สายวัดป่ากรรมฐานท่านอื่นๆ  ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นในสมัยนั้นอีกด้วย


           ชีวิตในวัยเด็กของหลวงพ่อพุธนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบาก   ท่านเล่าให้ฟังว่า   ประดาความทุกข์ทั้งหลายที่ประดังเข้าใส่นั้นทำให้ท่านมองเห็นธรรมะมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก


           ต่อมา   เมื่อได้มีโอกาสเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา    หลวงพ่อพุธก็มีเหตุให้ได้พบกับธรรมอยู่เนืองๆ   ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะโดยพื้นฐานแล้ว    หลวงพ่อพุธเป็นคนที่สุขภาพไม่ค่อยจะสู้ดี   แต่การที่ท่านสุขภาพไม่ดีนั้นกลับกลายเป็นว่าให้คุณมากกว่าโทษ

 

           เวลาที่หลวงพ่อพุธต้องนอนป่วยอยู่คนเดียวเงียบๆ  นั้นเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐ  เพราะในช่วงเวลาแบบนี้  ท่านสามารถใช้สติพินิจพิจารณาความจริงของชีวิตได้อย่างอิสระเสรี


          ความเจ็บป่วยสำหรับหลวงพ่อพุธนั้นจึงให้โอกาสในการที่จะได้เข้าใจบางมิติของชีวิตที่ลึกซึ้ง   และละเอียดอ่อนเกินกว่าที่คนที่ไม่เคยเจ็บป่วยต่อเนื่องกันนานๆ  จะรับรู้ได้

  

           ครั้งหนึ่ง    หลวงพ่อพุธป่วยเป็นวัณโรค   หมอกี่รายก็ส่ายหน้า   บอกจนปัญญา   ท่านจึงใช้โอกาสนี้เปลี่ยนทุกขเวทนาของท่านให้เป็นธรรมะ   ธรรมะที่หลวงพ่อพุธมักจะนำมาใช้ในการนี้ก็คือหลัก  "มรณสติ"  อันเป็นวิธีคิดที่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นการพิจารณาว่า  ความตายสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ   และสามารถเกิดได้กับคนทุกคน


           หลัก "มรณสติ" นี้  คือสิ่งที่หลวงพ่อพุธใช้เป็นธรรมะในการเตือนสติตัวเองอยู่เสมอ   เพราะหลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น   ท่านก็ได้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอีกจนแทบเอาชีวิตไม่รอด


         ประดาเหตุการณ์ทั้งหลายที่ทำให้หลวงพ่อพุธเฉียดเข้าใกล้ความตายเองนี้ที่ในเวลาต่อมาได้กลายเป็น "มรณสติ"  ที่เปิดโอกาสในการที่ท่านจะได้เข้าใจบางมิติของชีวิตที่ลึกซึ้ง  และละเอียดอ่อนเกินกว่าที่คนธรรมดาทั่วไปจะรับรู้ได้


         สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หลวงพ่อพุธมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติธรรมอย่างลึกซึ้ง  จนอาจกล่าวได้ว่า   ท่านเป็นพระอริยบุคคลที่ชำนาญในเรื่อง  "ฌานสมาธิ"   มากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย

  

  

เราจะบวชตลอดชีวิต


           อาจกล่าวได้ว่า   "การเห็นทุกข์"  คือหัวใจสำคัญของ "การเห็นธรรม"  เพราะ  "ทุกข์"   เป็นความจริงอย่างแรก (ตรงกับอริยสัจข้อแรก)  ที่เปรียบเสมือนจุดตั้งต้นทางความคิดของการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธทั้งระบบ


           พูดง่ายๆ  ก็คือ  ถ้าหากไม่ยอมรับว่าชีวิตนี้เป็น  "ทุกข์"   ก็จะไม่มีการยอมรับ   "ความจริงอื่นๆ"   (หรืออริยสัจข้ออื่นๆ)  ที่ตามมา   สุดท้ายก็จะไม่มีการยอมรับว่า  "นิพพาน"  (หรือความพ้นทุกข์)  เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต


         อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า   ชีวิตในวัยเด็กของหลวงพ่อพุธนั้นต้องประสบกับความทุกข์ที่รุมเร้าอยู่ลึกๆ   ข้างในชีวิตมาโดยตลอด  ความทุกข์นี้ได้กลายเป็นพลังผลักดันภายในที่รุนแรงที่ทำให้ท่านตั้งปณิธานที่จะออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา


           หลวงพ่อพุธเล่าถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยเด็กว่า ...


          "ก่อนจะได้บวชเณร  มันก็คิดขึ้นมาเอง คิดตามประสาเด็ก ๆ แต่ก็มีหลักธรรมอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว จิตมันก็คิดขึ้นมาว่า "เออ! นี่เราเกิดมาคนเดียว ในท้องพ่อท้องแม่ของเรานี้มีเราคนเดียว พี่น้องก็ไม่มี ถ้าเราอยู่เป็นฆราวาส ถ้าเรามีลูกมีเต้า ถ้าพ่อมันก็ตาย แม่มันก็ตาย ใครหนอจะเอาลูกเรามาเลี้ยง อันนี้พ่อแม่เราตาย ปู่ย่า ตายาย พี่น้อง อา ป้าลุง ของเราก็ยังมี เขายังอุตส่าห์เก็บเอาเรามาเลี้ยง แต่นี่เราตัวคนเดียว ใครจะมารับผิดชอบลูกเต้าของเรา"


           ตั้งแต่บัดนั้นมา เราก็ตั้งปณิธานว่า "เราจะบวชตลอดชีวิต"


           ตอนที่ไปบวชนั่นอายุย่าง 15 ปี  เพิ่งเรียนจบประถมปีที่ 6    ประถมปีที่ 6  สมัยนั้นไปเป็นครู   เป็นข้าราชการก็ไปได้  ทีนี้ครูเขาก็ชวนให้เป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียน   เขาจะวิ่งเต้นช่วยบรรจุให้    หลวงพ่อก็บอกว่าได้ตัดสินใจแน่วแน่แล้วว่าจะไปบวช  พอวันไปบวช เครื่องแต่งตัวชุดที่ใส่ไปบวช พอผลัดเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวออก พับ ๆ แล้ว ยื่นให้ลูกศิษย์พระอุปัชฌาย์ แล้วบอกกับเขาว่า "นี่เพื่อน เอาเสื้อกางเกงชุดนี้ไปใส่แทนเราด้วย เราจะไม่ย้อนกลับมาใส่มันอีกแล้วชั่วชีวิตนี้"

 

         ที่หลวงพ่อบวชนี้เพราะหลวงพ่อคิดว่ามีความทุกข์   โลกนี้มีแต่ความทุกข์   จึงแสวงหาทางพ้นทุกข์   ความรู้สึกมันเป็นเช่นนั้นในขณะนั้น

  
          แต่ว่าความรู้สึกทุกข์ทรมานตามความรู้สึกสามัญสำนึกธรรมดามันมีอยู่ตั้งแต่เริ่มรู้เดียงสามา คือความรู้สึกน้อยอกน้อยใจ ว่า   เราขาดพ่อขาดแม่ ขาดความอบอุ่น แม้แต่ไปเล่นกับเพื่อนบ้าน บางทีเขาก็โมโหให้ บางทีเขาก็ด่า “ไอ้ลูกไม่มีพ่อแม่สั่งสอน” อะไรทำนองนั้น   มันก็รู้สึกกระทบกระเทือนจิต มีความรู้สึกอยู่เช่นนั้นตลอดมา จนกระทั่งบวชเณร”

ที่มาจาก  หนังสือ "วินาทีบรรลุธรรม  พระอรหันต์มีจริง" เล่ม 5


Last Updated on Tuesday, 10 January 2012 08:28
 

ค้นหา (พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม Enter)

ร้านจักรวาลอ๊อกซิเย่น

Banner

น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

Banner

เข้า Facebook ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว

Banner

แห่เทียนพรรษา 2558

Banner

ฐานิยปูชา 2556

Banner

www.thaniyo.net

Banner

ฐานิยปูชา 2555

Banner

เชิญชม วิดีโอ การแสดงธรรมของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Banner

วัดป่าสาลวัน

Banner

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Banner

palungdham.com

Banner

ฐานิยปูชา 2553

Banner

สำรวจความคิดเห็น

เหตุผล สำคัญที่สุด ในการเข้ารับการอบรมพัฒนาจิต ที่วัดวะภูแก้ว ?
 

แบบสำรวจความคิดเห็น

วัดวะภูแก้วควรปรับปรุงเรื่องใดมากที่สุด
 

แบบสำรวจ

พระสงฆ์ในทัศนะของท่าน ?
 

โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านได้ที่สมุดเยี่ยม

Banner